คำที่มีความหมายใกล้เคียงกันที่เรามักจะได้ยินบ่อย ๆ คือ บริจาค จาคะ และ ทาน และถ้าเรารุ้จักคำอื่น ๆ ที่อยู่ในกลุ่มความหมายใกล้เคียงกันด้วย ก็จะเป็นประโยชน์ยิ่งขึ้น

  1. จาคะ สละ มอบให้ ให้ทาน
  2. ปริจฺจาคะ สละ ให้ มอบให้
  3. ทาน ให้ สละ มอบ ถวาย
  4. ปาน (ปา นะ) น้ำดื่ม น้ำกิน
  5. ขาทนีย (ขา ทะ นี ยะ) ของน่ากินน่าเคี้ยว สิ่งที่มนุษย์กิน พวก ขนมต่าง ๆ ข้าวน้ำต่าง ๆ ผลไม้ พืชผัก
  6. โภชนีย (โพ ชะ นี ยะ) ของน่ากิน ของน่าใช้สอย (คำนี้ ความหมายกวาง รวมของกิน ของใช้ต่าง ๆ ด้วย)
  7. อุปโภค (อุ ปะ โพ คะ) ของใช้ เครื่องใช้ไม้สอย เสื้อผ้า รถ ยาน ต่าง ๆ คนไทยเรียกว่า อุปโภค (อุ ปะ โพก)
  8. ปริโภค (ปะ ริ โพ คะ) สิ่งที่มนุษย์กิน พวก ขนมต่าง ๆ ข้าวน้ำต่าง ๆ ผลไม้ พืชผัก (คนไทยแปลง ป. ปลา เป็น บ.ไบไม้ จึงกลายเป็น บริโภค)

เกี่ยวกับน้ำดื่ม

ปานปริจฺจาค (ปา นะ ปะ ริด จาคะ) ปานบริจาค แปลว่า บริจาคน้ำดื่ม ให้น้ำดื่ม มอบน้ำดื่ม
ปานจาค (ปา นะ จาคะ) ปานจาค แปลว่า สละน้ำดื่ม ให้น้ำดื่ม มอบน้ำดื่ม
ปานทาน (ปา นะ ทา นะ /ปา นะ ทาน) ปานจาค แปลว่า ถวายน้ำดื่ม สละน้ำดื่ม ให้น้ำดื่ม มอบน้ำดื่ม ทานน้ำดื้ม (ทานคือให้) (ในภาษาไทยเรา ทาน/รับประทาน ที่คนไทยแปลว่า กิน แต่ก็แปลตรงตัวได้เช่นกันว่า ทาน คือเอาอาหารให้ร่างกาย ก็คือกินนั่นเอง

ปริจฺจาค

บริจาค มาจากภาษาบาลีว่า ปริจฺจาค (ปริจจาคะ – อ่านว่า ปะ ริด จา คะ ประกอบด้วยคำ 2 คำ คือ ปริ กับ จาค สำหรับในภาษาไทย คนไทยสมัยก่อนได้ปรับเปลี่ยนเสียง ป.ปลา เป็น บ.ใบไม้ เพื่อให้คุ้นกับลิ้นของคนไทยเอง และลบ จ.จานตัวสะกดออกไปด้วย จากคำว่า ปริจฺจาค จึงกลายเป็น บริจาค – บอ ริ จาก)

ปริจฺจาค

แยกคำออกเป็น ปริ (ปะ ริ) และ จาค (จา คะ) ส่วน จ.จาน ที่ซ้อนสะกดเข้ามา 1 ตัวนั้น ผันไปตามการออกเสียงและความคุ้นเคยลิ้นของคนอินเดียสมัยโบราณ การเติม จ. เป็นคำสะกดเข้ามาเพื่อให้ออกเสียงง่าย แต่ จ.จานที่เติมเข้ามานี้ ไม่มีความหมายอะไร ดังนั้น คำดั้งเดิมจึงเป็น ปริจฺจาค แต่ทั้ง ปริจฺจาค และ ปริจาค ความหมายไม่ต่างกัน

(เราอาจเทียบดูว่า ระหว่างคำว่า ปริจฺจาค กับ ปริจาค คำไหนออกเสียงง่ายกว่ากัน โดยนึกถึงลิ้นคนไทยและคนอินเดียโบราณประกอบกัน)

ปริ/บริ แปลว่า เป็นจุดวงกลมหรือมีลักษณะวงกลม มน ๆ กลม ๆ รอบตนเองแล้วแผ่ขยายกว้างออกไปโดยไม่จำกัด ขายไปแบบกว้างขวาง ไร้ขอบเขต ไม่มีที่สิ้นสุด (ให้นึกถึงคำที่เราคุ้นหูบ่อย ๆ เช่น ปริเวณ/บริเวณ แปลว่า พื้นที่โดยรอบ พื้นที่รอบ ๆ เป็นวงๆ และ ปริมณฑล พื้นที่แบบกลม ๆ มน ๆ,เกลี้ยงเกลา เรียบร้อย,ลงตัวและกลมกลืนดี)

จาคะ แปลว่า การสละ, การพร้อมกายพร้อมใจให้, การยินดีให้โดยไม่มีการบังคับ ขอร้อง หรือขู่เข็ญจากใครหรือกฏระเบียบใด ๆ, การไม่หวงแหน,การไม่เสียดาย, ความพึงพอใจสละสิ่งของหรือชีวิตตนเองเพื่อบุคคลอื่นหรือเพื่อสาธารณะ

จาคะ กับ กิริยาอาการในลักษณะ การสักแต่ว่าให้ หรือการจำยอมต้องให้ ฝืนใจให้ ให้แบบส่งเดช ให้เพื่อให้พ้น ๆ ไป ให้เพื่อให้หมดรำคาญ จึงไม่เหมือนกัน

ปริจาคะ เป็นหลักปฏิบัติที่สำคัญสำหรับผู้นำ ผู้ปกครอง ผู้บริหารด้วย ดังปรากฏเป็นคุณธรรมข้อหนึ่งใน ทศพิธราชธรรม 10 ซึ่งผู้นำผู้ปกครองผู้บริหารที่ดี จะขาด บริจาคธรรม ไม่ได้

ความหมาย จาคะ บริจาค และ ทาน ความหมายจึงเหมือน ๆ กัน (แต่ในสังคมไทย ใช้แตกต่างกันพอควร คือเราจะเน้นผู้รับด้วย)

สรุปความว่า บริจาคะ/บริจาค หมายถึง การสละทรัพย์สินหรือชีวิตของตนเอง เพื่อประโยชน์อย่างกว้างขวางไม่จำกัดขอบเขต ไม่จำกัดผู้รับว่าเป็นใคร ถือศาสนาใด เพศใด ไม่จำกัดสถานที่รับว่าต้องเป็นที่ใดประเทศใด การบริจาคน้ำดื่ม การมอบน้ำดื่ม เป็นวิธีการทำบุญที่ยิ่งใหญ่ในอีกวิธีหนึ่ง ทำง่าย ทำได้ตลอด ทำให้สุขใจ เย็นใจ เย็นกาย ได้บุญง่ายได้บุญมาก

บริจาคน้ำดื่มอย่างไร จึงจะมีอานิสงส์มาก

  1. ก่อนบริจาค ใจต้องบริสุทธิ์ มีความศรัทธา เต็มใจ ดีใจ นอบน้อมเพื่อให้น้ำดื่มแก่บุคคลอื่น
  2. ขณะบริจาค ใจบริสุทธิ์ มั่นคง ไม่วอกแวก ศรัทธาเต็มเปี่ยม ไม่หวนแหน
  3. หลังบริจาค ใจบริสุทธิ์ ชื่นชมยินดีที่ได้ให้คนอื่น ไม่เสียดาย ไม่หวงแหน ไม่อยากได้คืน
  4. น้ำดื่มที่เรานำไปบริจาคนั้น ต้องเป็นน้ำดื่มที่เราหาเอง หรือซื้อเองด้วยเงินที่สะอาด (ไม่โกง ปล้น จี้ ขายยาบ้า) ของตนเอง ไม่ใช่ไปบีบบังคับจากคนอื่นมา เพื่อมาบริจาคเอาหน้าเอาตาเท่านั้น

สั่งน้ำดื่มไปบริจาค สั่งน้ำดื่มไปทำบุญ สั่งน้ำดื่มไปมอบให้องค์กรและหน่วยงานต่าง ๆ ติดต่อเรา

ศูนย์จำหน่ายน้ำดื่มโอซาก้าคิน
ลำลูกกา คลอง 7 ส่งเร็ว ส่งไว ทันใจ
โทร 085 528 6658
ไลน์ osakakin
www.osakakin.com